กรุสำหรับ สิงหาคม 3rd, 2009

03
ส.ค.
09

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์

  mahaviravong

การจัดแสดง : มีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มอบไว้ให้ และจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น ซึ่งได้จากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งสิ่งของที่ประชาชนมอบให้ ได้แก่ ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ รูปแบบต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้สำริด กลองมโหระทึกสำริด ศิลาจารึก พระพุทธรูปในสมัยต่างๆ ภาชนะดินเผาเคลือบสมัยลพบุรี เครื่องถ้วยจีน ตลอดจนศิลปะพื้นเมืองอีสาน และศิลปวัตถุที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระเก้าอี้ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลปัจจุบัน เมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดนครราชสีมา

  • มีการบรรยายนำชมทางวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา พระภิกษุ สามเณร ประชาชน และแขกของทางราชการ

  • มีการจัดนิทรรศการพิเศษ เนื่องในโอกาสและเทศการสำคัญๆต่างๆ

  • มีการจัดจำหน่ายหนังสือ

  • มีเอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

การจัดแสดง : 1. น่าจะมีการขยายพื้นที่ให้กว้างกว่านี้เพื่อจะได้มีพื้นที่ในการจัดแสดงวัตถุโบราณแต่ละชิ้นอย่างโดดเด่น เพื่อให้เห็นได้ชัด และสะดุดตาแก่ผู้เข้าชม (ในกรณีที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก)

                     2. ควรเพื่อสื่อประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการให้ความรู้เพื่อเพิ่มอัฐรสในการรับชม เพื่อการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจอย่างรวดเร็ว

                     3. ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักให้มากกว่า โดยการใช้โอกาสจากงานสำคัญต่างๆที่จัดขึ้น เพื่อประชาชนที่เข้าร่วมงานได้รับรู้ มากกว่าการเผยแพร่เอกสารอยู่ในสถานที่ ที่มีแต่ผู้เข้าชมเท่านั้นที่จะได้รับแจกเอกสาร ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าชมก็จะไม่มีโอกาสได้รับรู้เลยนอกจากจะมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในโอกาสพิเศษๆต่างๆหรือที่สาธารณชนเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้อย่างทั่วถึง                  

                        

                mahaviravong07                                    mahaviravong06                             PICT0002                    

  

รูปภาพจาก  http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=817

 

วัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์ : 1.เพื่อให้ นักเรียน นิสติ/นักศึกษา ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้มีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ ถึงความเป็นมาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

 

                                                      2. เพื่อให้ผู้สนใจได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ ความรู้ สิ่งที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของบารณวัตถุ ศิลปวัตถุ

 

ความรู้สึก : เริ่มแรกจากที่อาจารย์สั่งการบ้าน ประมาณว่าให้ไปหาข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ โดยการไปสถานที่จริงพอได้ฟังแค่นั้น ก็สงสัยอยู่พอสมควรว่าสถานที่นี้อยู่ตรงไหนของโคราชเพราะไม่เคยได้ยิน ได้ไปมาก่อนพออาจารย์บอกว่าตั้งอยู่หลังหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ก็อ่อขึ้นมาทันที อยู่ใกล้แค่นี้ทำไมเราไม่เคยรู้มาก็นะ เมื่อรู้มาว่า ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ของวัดสุทธจินดา หรือด้านหลังของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ซึ่งลักษณะอาคารเป็นอาคารชั้นเดียวทรงไทยประยุกต์ มองดูภายนอกก็สวยงาม พอเข้าไปข้างในก็มีโบราณวัตถุมากมายให้ได้ชมมากมาย เห็นอย่างนี้แล้วถ้ามีโอกาสก็จะต้องไปเยี่ยมชมหาความรู้อีก อีกทั้งยังตั้งอยู่ในเมืองใกล้สถานมี่สำคัญๆอย่าง อนุเสาวรีท่านเท้าสุระนารี (คุณย่าโม) ที่นักท่องเที่ยว หรือใครที่ผ่านไปผ่านมาก็มักจะมากราบไหว้ขอความเป็นสิริมงคลกันทั้งนั้น จากนั้นก็เดินไปแล้แต่จะสะดวกคะอีกหน่อยก็จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ข้างในมีแต่โบราณวัตถุ แน่นอนว่าใครหลายคนอาจจะไม่เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อนเลยก็ได้ ถ้ามีโอกาสก็อยากจะเชิญชวนท่านที่สนใจได้ไปเยี่ยมชมด้วยตนเองท่านจะได้ความรู้มากมายเลยล่ะคะ ขอเชิญชวนทุกท่านนะคะ

                                                                                                  

                                                         PICT0009

 

 ข้อเสนอแนะ : 1.ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักให้มากกว่า โดยการใช้โอกาสจากงานสำคัญต่างๆที่จัดขึ้น เพื่อประชาชนที่เข้าร่วมงานได้รับรู้

                     2.ควรเพื่อสื่อประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการให้ความรู้เพื่อเพิ่มอัฐรสในการรับชม เพื่อการเรียนรู้เข้าใจอย่างรวดเร็ว

                     3. ควรจัดให้ผู้มีความรู้มาให้ความรู้ คำแนะ อธิบายเนื้อในส่วนที่ละเอียดจากส่วนเดิม เนื่องจากเอกสารกำกับอาจไม่เพียงพอต่อความต้องของผู้เยี่ยมชม (ในกรณีผู้เยี่ยมชมน้อยแต่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา)

 

ขอขอบคุณ :  บุคลากรผู้ความรู้ทุกท่าน 

                                 แผ่นพับซึ่งจัดทำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

03
ส.ค.
09

หอศิลป์จามจุรี

ที่ตั้งอาคารจามจุรี 8 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัทพ์ 022183633-6, 022183709 เวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.MAPjamjuree

 ผู้เข้าชม

 

จำนวนผู้เข้าชม 16000 คนต่อปี ประเภทผู้ข้าชมได้แก่ (อันดับ)

  1. นักเรียน / นักศึกษา

  2. บุคคลทั่วไป

  3. ศิลปิน / ผู้ทำงานในแวดวงศิลปะ

 

องค์กร

 

เป็นส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

พื้นที่

 

ห้องโถงชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคาร พื้นที่ชั้นละประมาณ 500 ตารางเมตร

 

ประวัติการก่อตั้ง

 

* เมื่อประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมาอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าของศิลปินไทย

* เมื่อประมาณ พ..2516 ได้เริ่มรวบรวมและจัดหางานศิลปกรรมของศิลปินที่มีชื่อและมีศักยภาพในตอนนั้น

* ต่อมาประมาณ พ..2527 เริ่มมีโครงการรวบรวมผลงานศิลปกรรมขึ้น โดยมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี งานศิลปกรรมดังกล่าวได้นำไปติดตั้งในอาคารต่างๆภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างเสริมบรรยากาศทางศิลปะอันจะนำไปสู่การปลูกฝังสุนทรียศิลป์ และการจรรโล่งจิตใจของชาวจุฬาฯ โดยทั่วไปตลอดจนผู้พบเห็นผลงานศิลปกรรมเท่าที่รวบรวมและจัดหาได้มีเป็นจำนวนมาก

* จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นสมควรที่จะจัดตั้งหอศิลป์ของจุฬาฯขึ้น เพื่อเป็นการสารต่อความคิดในเชิงสนับสนุนสร้างสรรค์ และเผยแพร่งานศิลปกรรม และศิลปินไทย โดยได้ฤกษ์อันเป็นมงคลยิ่งในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธันวาคม พ..2544 ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ศิลปินของชาติ

* ปัจจุบันนับได้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของประเทศไทยและสามารถแสดงถึงวิวัฒนาการของงานศิลปกรรมในประเทศตั้งแต่เริ่มแรกของยุคศิลปะเฟื่องฟูมากจนถึงปัจจุบันได้อยย่างสมบูรณ์

 

 

 

 

วัตถุในการก่อตั้งหอศิลป์จามจุรี

 

  1. เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดแสดง และเผยแพร่ผลงานศิลป์สู่สาธารณชนตลอดจนเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการของผู้ทรงคุณวุติและผู้สนใจ

  2. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่งานศิลปกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานภายในที่ได้รวบรวมไว้

  3. เพื่อเป็นสถานที่การจัดแสดงผลงานของอาจารย์ นิสตินักศึกษา บุคลากร ศิลปินโดยทั่วไป

 

กิจกรรม

 

ส่วนใหญ่จะเน้นแสดงผลงานด้านจิตกรรม ปติมากรรม และภาพพิมพ์ นอกเหนือจากนั้นจะเป็นการแสดงผลงานด้านประยุกต์ศิลปะ ส่วนผู้นำผลงานมาจัดแสดงส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินอาชีพชาวไทย ถัดมาเป็นนักศึกษา และเป็นศิลปินชาวต่างชาติ ระยะเวลาในการจัดนิทรรศการจะแล้วแต่ขนาดของนิทรรศการ โดยการจัดตารางการใช้หอศิลป์ฯจะมีการจัดเตรียมล่วงหน้าไม่เกิน 2 ปี

 

ผลงาน

 

การคัดสรรค์ผลงานทำโดย อาจารย์ผู้มีความรู้ด้านศิลปะภายในมหาวิทยาลัยประมาณ 2-3 ท่านและกลุ่มงานที่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานในหอศิลป์ฯ โดยที่ผ่านมาผลงานทั้งหมดที่จะแสดงในหอศิลป์ฯ จะเป็นผลงานที่มีผู้ติดต่อเสนอขอแสดงงานทั้งสิ้น ส่วนกิจกรรมที่ทางหอศิลป์จะไม่นำเสนอได้แก่ กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ ปัจจุบันหอศิลป์ฯมีงานที่สะสมอยู่ไว้ไม่น้อยกว่า 300 ชิ้น และกำลังอยู่ในขั้นตอนรวบรวมผลงานที่เคยติดตั้งอยู่ในอาคารต่างๆ เพื่อทำการจัดเก็บให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น

 

งบประมาณ

 

  1. งบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายทั่วไปภายในหอศิลป์ฯ ซึ่งได้รับจากกองทุนศิลปวัฒนธรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 500,000 บาทต่อปี

  2. งบประมาณสำหรับจัดซื่อผลงานศิลปกรรมต่างๆ ในโครงการรวบรวมผลงานศิลปกรรม ซึ่งได้รับงบประมาณจากเงินผลประโยชน์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

การดำเนินงาน

 

แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่

1.งานสะสมของหอศิลป์ฯ มีการทำทะเบียนผลงานที่สะสมไว้ทั้งหมด

2. งานนิทรรศการ

2.1 งานรักษาความปลอดภัย

2.2 การขนย้าย ติดตั้ง จัดเก็บผลงานเป็นหน้าที่ของศิลปิน

2.3 การประชาสัมพันธ์ทางหอศิลป์ฯจะจัดให้ส่วนหนึ่ง

2.4 การจัดพิธิเปิด ศิลปินจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด ทั้งนี้ทางหอศิลป์ฯจะสนับสนุนข้อมูลร้านอาหารที่จะทำการจัดอาหารว่างในพิธิการเปิด และอุปกรณ์ในการจัดสถานที่

 

ระเบียบปฏิบัติหรือข้อตกลง

 

  1. ทางหอศิลป์ฯยังจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้สถานที่กับผู้มาติดต่อขอใช้แต่อย่างใด

  2. 2. หอศิลป์ฯ จะไม่อนุญาตให้มีการจำหน่ายผลงานภายในหอศิลป์ฯโดยหากมีผู้ต้องการซื่อผลงานที่ทำการจัดแสดงอยู่ จะต้องติดต่อกับศิลปินเองโดยตรง

  3. หอศิลป์ฯ อนุญาตให้ผู้มาติดต่อขอใช้สถานที่ โดยการดำเนินงานต่างๆในการจัดนิทรรศการเป็นความรับผิดชอบของศิลปินเอง

 

ปัญหาการดำเนินงาน

 

ทางหอศิลป์ฯ ยังมีปัญหาด้านสถานที่ไม่เพียงพอสำหรับเป็นพื้นที่การทำงานของบุคลากร และพื้นที่ในการจัดเก็บผลงานที่สะสมไว้

 


 




สิงหาคม 2009
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31  

หน้า